วันพฤหัสบดี, 19 ธันวาคม 2567

จังหวัดอุบลราชธานี ปล่อยขบวน สารวัตรเกษตร สวพ. 4 ป้องปรามการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันการนำปัจจัยการผลิตที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายอันเป็นการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร

จังหวัดอุบลราชธานี ปล่อยขบวน สารวัตรเกษตร สวพ. 4 ป้องปรามการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันการนำปัจจัยการผลิตที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายอันเป็นการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร
ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 อุบลราชธานี ได้จัดกิจกรรมปล่อยขบวน “สารวัตรเกษตร สวพ. 4 รวมพลัง สร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกร” มุ่งสร้างมาตรฐานร้านค้าปัจจัยการผลิตได้คุณภาพ Q – Shop ขึ้น โดยมี นายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 ร่วมด้วย นายอิทธิพล บ้งพรม ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ ฯ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานในเครือข่ายในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบไปด้วย จังหวัดอุบลราชธานี ,ศรีสะเกษ ,มหาสารคาม ,นครราชสีมา ,สุรินทร์ ,ร้อยเอ็ด ,บุรีรัมย์ ,อำนาจเจริญ และ จังหวัดยโสธร ,ด่านตรวจพืชช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ,ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ และ ช่องสะงำ จังหวัดสุรินทร์ ร่วม รับฟังนโยบาย พร้อม พิธีฯ ปล่อยขบวน
สำหรับ กิจกรรม ดังกล่าวฯ เป็นการดำเนินการตามนโยบาย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทำสงครามกับสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ในช่วงที่ปัจจัยการผลิตมีราคาแพงเป็นช่วงที่อาจเกิดการฉวยโอกาสในการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร ซึ่ง อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดฯ ดำเนินการตามนโยบาย ที่ต้องทำให้ได้ผลใน 100 วัน ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบในเขตพื้นที่ สวพ.4 ได้แนะนำให้ผู้ประกอบการให้ปฎิบัติตามข้อกฎหมาย แจ้งเตือน ตรวจสอบการใช้ใบอนุญาต สร้างการรับรู้ ความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติงานของสารวัตรเกษตร ผู้ช่วยสารวัตรเกษตร และ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการปล่อยขบวนฯ จะเป็นการเร่งดำเนินงานด้านการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง รักษาผลประโยชน์ ของเกษตรกร ซึ่งจะเป็นการป้องกันการนำปัจจัยการผลิตที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายอันเป็นการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกร จะได้ใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ สร้างการรับรู้ให้ร้านจำหน่ายปัจจัยในพื้นที่เข้าสู่ระบบร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตได้คุณภาพ Q – Shop และ แนะนำให้เกษตรกรเลือกซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกับร้านที่เข้าร่วมโครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพดังกล่าว เพื่อ ลดการถูกหลอกขายปัจจัยการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เกษตร ม.อุบลฯ สืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรผ่านกิจกรรม มือเรียวรอเกี่ยวรวง
ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดสัมมนาสำหรับประชาชนทั่วไปในหัวข้อ “คดีภัยออนไลน์”
เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
สา’สุขอุบลฯ สุ่มตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร
สัมผัสกับธรรมชาติทุ่งดอกกระดุมทอง
ลูกหลานชาวอุบลราชธานี ประกอบพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ประจำปี 2566