เปลี่ยนชื่อ อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก เป็น อุทยานธรณีอุบลราชธานี ข่าวท้องถิ่น 30 ต.ค. 2023 7419 share tweet share วันที่ 26 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี กรมทรัพยากรธรณี มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และผู้อำนวยการอุทยานธรณีอุบลราชธานี (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยตำแหน่ง) เรื่อง การรับรองผลประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยและการขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่ และเปลี่ยนชื่อของอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบกโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี ได้พิจารณารับรองให้อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก เป็นอุทยานธรณีประเทศไทย ต่ออีก 4 ปี มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ถึง 21 สิงหาคม 2570 พร้อมทั้งให้อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ในการกำหนดเป้าหมายและแผนงานการพัฒนาเพื่อเป็น อุทยานธรณีโลก ของยูเนสโกต่อไปทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นชอบการขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่และเปลี่ยนชื่อของอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก เป็นอุทยานธรณีอุบลราชธานี สำหรับเหตุที่มีการเสนอขอเปลี่ยนชื่ออุทยานธรณี จาก “อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี” เป็น “อุทยานธรณีอุบลราชธานี” นั้น แหล่งข่าวกล่าวกับไกด์อุบลว่า ในเริ่มแรกผาชัน สามพันโบก กำลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จึงตั้งชื่อตามชื่อของแหล่งท่องเที่ยวนั้น แต่เมื่อมีการดำเนินการของอุทยานธรณีต่อเนื่อง พบว่าต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หน่วยงานต่างๆ อำเภอต่างๆ ขาดความเข้าใจ ซึ่งเมื่อเสนอเปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานธรณีอุบลราชธานี คนในพื้นที่มีการตอบรับให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับ แนวทางการตั้งชื่อของอุทยานธรณีระดับสากล และสอดคล้องกับพื้นที่จริงที่ประกอบด้วยหลายอำเภอ และรวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ วนอุทยานน้ำตกผาหลวง เขื่อนสิรินธร และพื้นที่เชื่อมโยงซึ่งนอกจากการเสนอขอเปลี่ยนชื่อแล้ว ยังขอปรับและขยายขอบเขตอุทยานธรณี โดยเพิ่มตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย และตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร ซึ่งมีพื้นที่รวมจำนวน 1,800.60 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาเควสต้า ที่มีความโดดเด่นและมองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามทั้งใกล้และไกล มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณีในพื้นที่ดังกล่าว วัดสิรินธรวรารามภูพร้าวตั้งอยู่บริเวณส่วนยอดของภูเขาเควสต้า เป็นวัดที่ใช้ภูมิทัศน์อันสวยงามบนยอดเขาอันเงียบสงบ ทำให้ผู้คนที่มาเยือนได้โอกาสน้อมนำธรรมเข้ามาสู่ตน เขื่อนสิธินธร ส่วนของภาครัฐจะผลิตไฟฟ้า พื้นผิวน้ำผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนของภาคเอกชนมีการเลี้ยงปลาในกระชัง แปรรูปปลาธรรมชาติและผลิตเฟอนิเจอร์จากไม้ใต้น้ำ บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ ประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวหลังจากนี้ ทางจังหวัดอุบลราชธานีจะได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ในการเปลี่ยนชื่ออุทยานธรณี การมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับชุมชนท้องถิ่นต่อไป tags: ข่าวอุบลท่องอุบลสามพันโบกอุบลราชธานี เรื่องที่เกี่ยวข้อง ข่าวท้องถิ่น เกษตร ม.อุบลฯ สืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรผ่านกิจกรรม มือเรียวรอเกี่ยวรวง ข่าวท้องถิ่น ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดสัมมนาสำหรับประชาชนทั่วไปในหัวข้อ “คดีภัยออนไลน์” ข่าวท้องถิ่น เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ข่าวท้องถิ่น สา’สุขอุบลฯ สุ่มตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ที่เที่ยว วารินชำราบ สัมผัสกับธรรมชาติทุ่งดอกกระดุมทอง ข่าวท้องถิ่น ลูกหลานชาวอุบลราชธานี ประกอบพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ประจำปี 2566